การใช้เพลงสำหรับประกอบธุรกิจ / ลิขสิทธิ์เกี่ยวกับเพลง

การใช้เพลงสำหรับประกอบธุรกิจ

การเปิดเพลงหรือใช้เพลงเพื่อประกอบธุรกิจในสถานประกอบการเพื่อประโยชน์ทางการค้า/เชิงพาณิชย์สำหรับประกอบธุรกิจ จำเป็นต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์งานสิ่งบันทึกเสียง (เพลง) หรือโสตทัศนวัสดุ (มิวสิควีดีโอ) เสียก่อน ก่อนที่จะไปสู่เรื่องการขออนุญาต เรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับลิขสิทธิ์เพลงว่ามีไรบ้าง

ลิขสิทธิ์เกี่ยวกับเพลง

“ลิขสิทธิ์” หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียว ที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น เช่น สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย สามารถดูวิดิโอเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ที่นี่

เมื่อคุณได้ยินเสียงเพลงๆ หนึ่ง คุณรู้หรือไม่ว่าเพลงนั้นจะประกอบด้วยลิขสิทธิ์ 2 งาน คือ
  • 1. งานดนตรีกรรม (Musical Work) คือ เนื้อร้อง, ทำนองและคำร้องหรือทำนองอย่างเดียวหรือการเรียบเรียงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะแยกหรือรวมกัน โดยเจ้าของลิขสิทธิ์คือนักแต่งเพลงหรือผู้ประพันธ์
  • 2. งานสิ่งบันทึกเสียง (Sound Recording) คือ งานเพลงประกอบด้วยเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใดๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยเจ้าของลิขสิทธิ์คือ ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง อันได้แก่ค่ายเพลงหรือบริษัทสิ่งบันทึกเสียง
  • 1. สิทธิ์ทำซ้ำ (Reproduction Right) การคัดลอก เลียนแบบ ทำสำเนา บันทึกเสียง จากต้นฉบับเพลงหรือสำเนาเพลง ไม่ว่าทั้งเพลงหรือแค่บางส่วน ในส่วนสำคัญของเพลงนั้นๆ เช่น ทำสำเนาไฟล์เพลงขึ้นมาอีกไฟล์หนึ่ง
  • 2. สิทธิ์เผยแพร่สู่สาธารณชน (Communication to Public/Public Performance Right) หมายถึง การทำให้ปรากฎต่อผู้คนที่สามารถเข้าถึงหรือได้ยินเสียงเพลง โดยวิธีการใดๆ ที่ได้จัดทำขึ้น เช่น ทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือสถานประกอบการต่างๆ อาทิ เช่น ร้านอาหาร, ร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า, สายการบิน, โรงแรม, โรงพยาบาล, ฟิตเนส, โบว์ลิ่ง, โรงภาพยนตร์, ผับ/บาร์, คาราโอเกะ เป็นต้น

ในกรณีที่ต้องการนำเพลงเพื่อประกอบเนื้อหาอื่น เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์, วิทยุ, ภาพยนตร์, ซีรีย์ จะมีอีกหนึ่งสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ สิทธิ์การดัดแปลง (Synchronization Right) หมายถึง การนำงานสิ่งบันทึกเสียงไปดัดแปลง และ/หรือ ประกอบกับภาพ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหารายการ ภาพยนตร์ หรือละคร โดยทางผู้ผลิตรายการ โฆษณา หรือช่องรายการที่เผยแพร่จะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องก่อนการขออนุญาตสิทธิ์ทำซ้ำและสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนข้างต้นต่อไป โดยสิทธิ์การดัดแปลง (Synchronization Right) ต้องขออนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์แต่ละรายโดยตรง ซึ่งผู้ถือลิขสิทธิ์อาจมีมากกว่าหนึ่งราย ไม่ว่าจะเป็นเพลงไทยหรือเพลงต่างประเทศ ต้องตรวจสอบรายละเอียดรวมทั้งการติดต่อประสานกับผู้ถือลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ หากท่านสนใจให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวแทนในการติดต่อและประสานขออนุญาตกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้เพลงต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการใช้งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ในการดำเนินการตรวจสอบลิขสิทธิ์กับองค์กรนักประพันธ์ต่างประเทศๆอันได้แก่ Fujipacific Music (S.E. Asia) Ltd., PEERMUSIC (S.E. Asia) Limited, Warner Chappell Music, One Asia Music, Universal Music Publishing, SonyATV, EMI Music Publishing เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมหรือต้องการผู้ประสานขออนุญาตใช้สิทธิ์ดัดแปลง (Synchronization Right) สามารถติดต่อคุณจารุวรรณ (เกี๊ยว) เบอร์โทร 086-388-9459 อีเมล์ jaruwana@hotmail.com

การจะขออนุญาตใช้งานเพลงให้ครบถ้วนจะต้องขออนุญาตให้ครบทุกเจ้าของลิขสิทธิ์และทุกสิทธิ์ที่ต้องการ เจ้าของลิขสิทธิ์: ผู้ประพันธ์งานดนตรีกรรม และ ค่ายเพลงผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง สิทธิ์: 1. ทำซ้ำ (Reproduction) 2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน (Communication to the Public)