บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด “PNR”

เป็นสมาชิกสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (IFPI: International Federation of Phonographic Industry: Representing the Recording Industry Worldwide ) เป็นหน่วยงานตัวแทนของอุตสาหกรรมเพลง ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า  8,000 องค์กร จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก โดยมีบทบาทหลักในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงทั้งในด้านการ
ปกป้องคุ้มครอง และศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ศิลปินและผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง

IFPI มีการจัดทำ Global music report หรือ GMR เพื่อรวบรวมรายงานยอดรายได้อุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงของสมาชิกทั่วโลก และข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพลงในแต่ละปี รายละเอียดเพิ่มเติม www.ifpi.org

สิทธิทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
มีรายได้เป็นอันดับ 3 ของอุตสาหกรรมเพลง

ดังนั้น PNR All About Music จึงเป็นหน่วยงานสำคัญ
ในการบริหาร การจัดเก็บ สิทธิทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ในงานสิ่งบันทึกเสียงของสมาชิก

PNR จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน พศ. 2535 เพื่อดูแลลิขสิทธิ์การเผยแพร่ต่อสาธารณชนและทำซ้ำเพื่อเผยแพร่
ต่อสาธารณชนของผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง โดยมีสมาชิกเป็นผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงสากลยักษ์ใหญ่และค่ายเพลงไทยคุณภาพ กว่า 70 ค่ายเพลง ได้แก่ โซนี่ มิวสิค, ยูนิเวอร์ซัล มิวสิค, วอร์นเนอร์ มิวสิค, เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์, สไปร์ซซี่ ดิสก์, มิวซิกมูฟ, วอท เดอะ ดัก, เลิฟ อิส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
รายชื่อสมาชิกเพิ่มเติม คลิก

โดย PNR เป็นองค์กร CMO ที่ไม่แสวงหาผลกําไร
ดำเนินการตาม Code of conduct ของ IFPI และกรมทรัพย์สินทางปัญญา  หรือ DIP

ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือสมาชิกค่ายเพลง และผู้ใช้งาน ทั้งข้อมูลการอนุญาตลิขสิทธิ์เผยแพร่ ต่อสาธารณชน และลิขสิทธิ์ทําซ้ําการใช้เพลงสําหรับธุรกิจและสถานประกอบการ

CODE OF CONDUCT

เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิก

ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันทุกสมาชิก

มีระบบจัดสรรค่าลิขสิทธิ์
อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และรวดเร็ว

คณะกรรมการบริหาร

1. คุณคเณศวร์ เพิ่มทรัพย์
2. คุณคาล นิทัศน์ คงขำ
3. คุณสาวณัฐธิชา รุจิรธำรง
4. คุณประชา มนัสถาวร
5. คุณณฤทธิ์ พรับจุ้ย
6. คุณณฐพล ศรีจอมขวัญ
7. คุณสามขวัญ ตันสมพงษ์

ผู้บริหาร

1. คุณชญาภัช แสงทับทิม
กรรมการผู้จัดการ chayapach@teca.co.th
2. คุณไพรริญ สมปาน
กรรมการบริหารฝ่ายการเงิน pairin@teca.co.th

ลิขสิทธิ์เกี่ยวกับสิ่งบันทึกเสียง

สิ่งบันทึกเสียง

  • งานที่ประกอบด้วยลำดับของดนตรี เสียงการแสดงหรือเสียงอื่นใดที่บันทึกไว้ในวัสดุชนิดใด ๆ และสามารถเล่นซ้ำได้โดยใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับวัสดุดังกล่าว


การเผยแพร่ต่อสาธารณชน

  • การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดย การแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลงการทำให้ปรากฏด้วยเสียงและ/หรือ ภาพ (ในกรณีมิวสิควีดีโอ)
  • การจำหน่ายหรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น
  • การทำให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้
  • การแพร่เสียงแพร่ภาพ นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและ/หรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีการอย่างอื่นอันคล้ายเคียงกัน

การทำซ้ำ

  • การบันทึก การทำซ้ำคัดลอกไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา บันทึกเสียง บันทึกภาพ(ในกรณีมิวสิควีดีโอ) หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากโฆษณาไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

การดัดแปลง

  • ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ตัวแทนอนุญาตสิทธิ์
นอกราชอาณาจักร
ของ PNR
Phonographic Performance Limited (PPL UK)
Country : ENGLAND
UKRAINIAN LEAGUE OF COPYRIGHT
AND RELATED RIGHTS (ULCRR)
Country : UKRAIN
Perkumpulan Sentra Lisensi Musik Indonesia (SELMI)
Country : Perkumpulan Sentra Lisensi Musik Indonesia (SELMI)
PHONOGRAPHIC PERFORMANCE LTD (PPL-India)
Country : PHONOGRAPHIC PERFORMANCE LTD (PPL-India)
โครงสร้างรายได้และการบริหารการจัดการลิขสิทธิ์ที่สมาชิกให้ PNR ดูแล

การบริหารจัดการลิขสิทธิ์ที่สมาชิกให้ PNR ดูแล

1

รายได้จากธุรกิจดิจิทัล เช่น การจำหน่ายเพลงผ่านบริการดิจิทัล บริหารจัดการโดยสมาชิกเอง หรือ MCN และ DSP

2

รายได้จากการจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ซีดี ดีวีดี ไวนิล บริหารจัดการโดยสมาชิกเอง

3

รายได้ค่าลิขสิทธิ์การอนุญาต
เผยแพร่ต่อสาธารณชน บริหารจัดการโดยองค์กรจัดเก็บ MPC ซึ่งก่อตั้งโดย MCTและPNR

4

รายได้การอนุญาตใช้เพลง
ถูกลิขสิทธิ์และลิขสิทธิ์ทำซ้ำ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ในสถานประกอบการ ซึ่งบริหารจัดการโดย PNR

Music Copyright 103:
คู่มือการใช้ลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง ตอน สิทธิที่ค่ายเพลงต้องรู้!
จริงไหมที่ยุคนี้ทุกคนสามารถเป็นศิลปินได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งค่ายเพลง
ประโยคนี้ฟังดูเหมือนจะจริง แต่จริงแค่ครึ่งเดียว
เพราะการที่เพลงหนึ่งเพลงในโลกออนไลน์จะถูกส่งไปถึงผู้ฟังหมู่มากจนสร้างรายได้กลับมาให้ศิล
ปินได้ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่ศิลปินจะทำโดยลำพัง จึงทำให้ศิลปินส่วนใหญ่ยังคงต้องการ
‘ที่พึ่งพา’ หรือ ‘ค่ายเพลง’ ซึ่งมีทีมงานที่เชี่ยวชาญทั้งด้านการตลาด คอนเทนต์ โซเชียลมีเดีย
และทีมอื่นๆ อีกมากที่คอยสนับสนุนให้เพลงและศิลปินไปถึงเป้าหมาย
รวมไปถึงคอยเป็นหลังบ้านให้กับศิลปินในการดูแลค่าลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง
ซึ่งเป็นก้อนรายได้ที่สำคัญมากในโลกสตรีมมิ่งยุคปัจจุบัน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA
ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทย (TECA/IFPI Thailand) ได้จัดทำ Music
Copyright 103 คู่มือการใช้ลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง ตอน สิทธิที่ค่ายเพลงต้องรู้!
ที่จะพาค่ายเพลงและคนดนตรีไปเปิดโลกลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงแบบลงลึกแทร็กต่อแทร็ก
เพราะค่ายเพลงหนึ่งค่าย
ก็เปรียบเสมือนโรงงานผลิตเพลงขนาดย่อมที่มีบทบาทในการดูแลรายได้ให้กับศิลปิน
ในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลธุรกิจของตนให้อยู่รอดด้วย หนังสือความยาว 50 หน้าเล่มนี้
ประกอบไปด้วยเนื้อหาและสำนวนภาษาที่ย่อยง่าย ภาพประกอบและอินโฟกราฟิก
ที่จะช่วยให้ค่ายเพลงได้ทำความเข้าใจและไม่หลงลืม ‘รายได้จากค่าลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง’
อันเป็นรายได้ที่สร้างเม็ดเงินให้กับธุรกิจและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสายอาชีพ
รวมไปถึงให้ความรู้แก่ผู้ขอใช้เพลงที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะมาช่วยกันสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดนตรีให้เติบโตไปพร้อมกัน
เริ่มจากติดกระดุมเม็ดแรกที่เรื่องลิขสิทธิ์ให้ถูกต้อง!

อ่านต่อ

บทบาท PNR ต่อสมาชิก

บริหารจัดการลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง เพื่อสร้างรายได้
ให้สมาชิก

สร้างเครือข่าย
ระหว่างประเทศ
Bilateral Agreement

ให้คำปรึกษา
ดูแลสัญญา
อนุญาตสิทธิ์

หารายได้
จากบริการอื่น ๆ

ประสานงานกับ TECA
เพื่อการป้องกันและ
ปราบปราม รวมถึง
ออกรหัส ISRC

สนใจสมัครเป็นสมาชิก PNR

@phonorights musicdelivery@phonorights.com

หลักจรรยาบรรณ PNR

บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์)จำกัด “PNR” เป็นองค์กรบริหารจัดการสิทธิ์ในกลุ่มสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ การรักษามาตรฐานเป็นเรื่องสำคัญของเรา

หลักจรรยบรรณของ PNR download เพิ่มเติม(ฉบับเต็ม)

  • PNR ต้องดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดของสมาชิกและผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนไม่ว่าเป็นสมาชิกโดยตรงหรือโดยการทำสัญญากับองค์กรบริหารจัดการสิทธิ์อื่นๆ PNR ต้องปฏิบัติกับผู้ใช้งานในลักษณะที่เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ และตามวิธีการที่จะมั่นใจว่าสมาชิกและผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่พีเอ็นอาร์เป็นตัวแทนจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
  • บริหารงานถูกต้องตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและดำเนินกิจการด้วยความสื่อตรง โปร่งใส มีประสิทธิภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • PNR จะใช้ความพยายามสูงสุดในการจัดเก็บค่าตอบแทนหรือค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในนามของสมาชิกและผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่พีเอ็นอาร์เป็นตัวแทนและการจัดสรรค่าตอบแทนที่ได้รับอย่างถูกต้องครบถ้วนให้แก่สมาชิกและผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่พีเอ็นอาร์เป็นตัวแทนโดยไม่ชักช้า
  • PNR จะดำเนินการและสื่อสารนโยบายที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพในการจัดการกับการเรียกเก็บค่าตอบแทนซ้ำซ้อน

    หลักธรรมาภิบาลของ PNR

  • PNR จะให้โอกาสสมาชิกอย่างเท่าเทียมกันเข้าร่วมเป็นตัวแทนคณะกรรมการบริหารเพื่อสร้างความสมดุลโดยพิจารณาจากผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจตามหน้าที่การทำงานแต่ละสมาชิกในการสนับสนุน PNR
  • ในกรณีที่ผู้ถือสิทธิ์สามารถเป็นสมาชิกกับ PNR ได้โดยตรง สมาชิกทุกคนควรได้รับสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมใหญ่สามัญตามหลักเกณฑ์พื้นฐานเดียวกันซึ่งหลักเกณฑ์นั้นจะต้องได้รับการพิจารณาและบังคับใช้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมตามสัดส่วนมูลค่าสิทธิ์ ที่บริหารจัดการโดย PNR
  • PNR จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญของสมาชิก ตัวแทน หรือผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณีอย่างน้อยปีละหนึ่ง (1) ครั้ง การประชุมใหญ่สามัญจะต้องมีอำนาจในการที่จะแต่งตั้งและถอดถอนสมาชิกคณะกรรมการบริหารเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการของ PNR และผู้ตรวจบัญชีของ PNR รวมถึงการอนุมัติการเปลี่ยนแปลงสถานะและนโยบายการจัดสรรส่วนแบ่งรายได้ของ PNR

2.1 PNR ต้องยอมรับสมาชิกและ/หรือให้บริการกับสมาชิกและผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนทุกรายบนพื้นฐานของการไม่เลือกปฏิบัติและตามหลักการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เว้นแต่ PNR มีเหตุผลที่เป็นธรรมสมควรที่จะปฏิเสธการให้บริการหรือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการปฏิบัติที่แตกต่างออกไป ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามวัตถุประสงค์ที่เป็นธรรมตามหลักจรรยาบรรณฉบับนี้

2.2 PNR จะให้ข้อมูลต่อไปนี้แก่สมาชิกและองค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนไม่ว่าจะถือสัญชาติใดหรือจดทะเบียนประเทศใด (อย่างน้อยจัดทำข้อมูลเป็นภาษาไทย)

• คุณสมบัติการเข้าเป็นสมาชิก

• ผลประโยชน์ของสมาชิก

• หน้าที่ของสมาชิก

• สัญญาการเป็นสมาชิก และ/หรือ สัญญาลูกค้ากับสมาชิก*• กฎข้อบังคับของบริษัท/โดยกฎหมาย, นโยบายและหลักเกณฑ์การดำเนินงานของPNR

• รายงานประจำปีและบัญชี

• อัตราการจัดเก็บทั่วไป

• นโยบายการจัดสรรค่าตอบแทน

• ขั้นตอนการระงับข้อพิพาท

• โครงสร้างของ PNR

• รายชื่อของสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR ทำธุรกรรม

• ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการและเงินทุน (ถ้ามี)

• ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ตามสมควรหากมีการร้องขอ

PNR ต้องใช้ความพยายามที่จะทำสัญญาต่างตอบแทนกับทุกองค์กรจัดเก็บซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสิทธิที่ PNR บริหารจัดการ ภายใต้ขอบเขตองค์กรจัดเก็บนั้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ PNR จะบริหารจัดการสิทธิที่ได้รับมอบอำนาจตามสัญญาต่างตอบแทนด้วยความโปร่งใส

และไม่เลือกปฏิบัติ

PNR จะจัดทำรายชื่อสิ่งบันทึกเสียงและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ซึ่งไม่สามารถระบุข้อมูลการอ้างสิทธิ์ให้แก่สมาชิกและผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนที่ได้มอบสิทธิ์ไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสัญญาต่างตอบแทนกับองค์กรจัดเก็บอื่นๆ หากมีการร้องขอ

PNR จะจัดหารายงานส่วนแบ่งค่าตอบแทนให้แก่สมาชิกและองค์กรจัดเก็บที่ PNR มีสัญญาต่างตอบแทน โดยระบุแยกตามประเภทของการใช้งาน, สิ่งบันทึกเสียงและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในแง่ของรายได้

2.1 ยอมรับเป็นสมาชิก เว้นแต่การปฏิเสธมีเหตุผลที่ถูกต้องเป็นธรรมโดยระบุเป็นลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างเช่นเมื่อผู้สมัคร/สมาชิกได้ถูกพิสูจน์ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการกระทำละเมิดหรือกิจการผิดกฎหมายอย่างอื่น หรือผู้สมัคร/สมาชิกบริหารสิทธิ์ที่ไม่อยู่ในขอบเขตของกิจการของPNR

PNR จะต้องไม่รับผู้ซึ่งเป็นสมาชิกหรือได้มีการโอนสิทธิให้แก่องค์กรจัดเก็บอื่นไปแล้ว

ในการปรับเปลี่ยนข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์ในข้อ 3.5 PNR ควรหารือกับสมาชิกและแจ้งสมาชิกหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

2.2 PNR ให้สิทธิ์สมาชิกและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนมีสิทธิพิจารณาขอบเขตการให้อำนาจบริหารจัดการ (ประเภทการอนุญาต, สิทธิ, การใช้งาน, งาน, กรอบระยะเวลา และ อาณาเขต) และลักษณะของสิทธิ (แบบอนุญาตให้แต่เพียงผู้เดียวหรือแบบไม่ผูกมัด) ที่ให้กับ PNR เว้นแต่ข้อจำกัดนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องด้วยเหตุผลอันเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการอนุญาตสิทธิ์ที่มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์เป้าหมายของ PNR

2.3 เว้นแต่เป็นสิทธิ์คนละประเภทกัน

2.4 มอบสำเนาข้อบังคับให้เมื่อเข้าเป็นสมาชิกและเมื่อมีการร้องขอ

2.5 เปิดเผยหลักปฏิบัติเรื่องค่าตอบแทนและค่าดำเนินการแก่สมาชิกและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนรวมทั้งอัตราและวิธีการคำนวณค่าตอบแทน เงื่อนไข ช่องทางการทำธุรกรรม และตารางจัดสรรค่าตอบแทน รวมถึงข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนและค่าดำเนินการที่ซึ่งต้องมีรายละเอียดการจัดสรรค่าตอบแทนในรูปแบบหนังสือคู่มือหรือผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหากมีการร้องขอ

2.6 สมาชิกและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนมีสิทธิ์ที่จะยกเลิกสัญญาสมาชิกหรือการบริหารจัดการซึ่งสิทธิ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนตามกฎข้อบังคับของ PNR โดยอาจให้มีผลทันทีหรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่กำหนดแต่ไม่เกินหก (6) เดือน การยกเลิกสัญญาจะไม่ส่งผลกระทบต่อการอนุญาตสิทธิ์ที่ได้ให้ไปกับผู้ใช้งานก่อนหน้าวันที่ได้รับการบอกกล่าวยกเลิกสัญญาตามระยะเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามระยะเวลาดังกล่าวนั้นไม่ ควรเกินสิบสอง (12) เดือน

การยกเลิกสัญญาจะไม่มีผลกระทบสิทธิ์หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกหรือผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่PNRเป็นตัวแทนมีสิทธิ์ได้รับอยู่ก่อนการยกเลิกสัญญา รวมทั้งการจัดสรรส่วนแบ่งให้แก่สมาชิกหรือ

ผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนในรายได้ที่ PNR ได้เก็บมาในนามของสมาชิกและสมาชิกและผู้ถือสิทธิ์ขององค์กรในเครือและองค์กรจัดเก็บที่มีสัญญาต่างตอบแทนที่ PNR เป็นตัวแทนก่อนการยกเลิกสัญญาในเงื่อนไขเดียวกันกับสมาชิกหรือลูกค้าของPNRตามแต่กรณี

เกี่ยวกับสิทธินักแสดง