ใช้เพลงอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

คำแนะนำสำหรับการใช้งานลิขสิทธิ์เพลงในสถานประกอบการเพื่อการค้าของเพลงสากลและเพลงไทยของสมาชิก บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด “พีเอ็นอาร์”

ท่านรู้หรือไม่ว่า เพลงทุกเพลงมีลิขสิทธิ์ ดังนั้นการใช้เพลงจากระบบที่ไม่ได้รับอนุญาตสำหรับการเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ทางการค้า, การทำซ้ำ, ดาวน์โหลดเพลงลงคอมพิวเตอร์, การใช้แผ่นละเมิดลิขสิทธิ์ อาจทำให้ท่านมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ท่านอาจเป็นผู้กระทำความผิดโดยไม่รู้ตัว ท่านสามารถสอบถามหรือตรวจสอบข้อมูลเรื่องเพลงได้ท่านได้รับอนุญาตและหน่วยงานที่เป็นตัวแทนเพลงสากลและเพลงไทยสมาชิกฯ ได้ที่ musicdelivery@tec.co.th หรือโทร 02 203-1002-3 ต่อ ทีมกฎหมาย

สถานประกอบการทางการค้าที่ได้ใช้งานลิขสิทธิ์เพลงของผู้อื่นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ค้าควรพิจารณาดังต่อไปนี้

1. เนื่องจากเพลงทุกเพลงมีลิขสิทธิ์ การใช้เพลงหรือทำซ้ำเพลงเพื่อใช้ในสถานประกอบการทางพาณิชย์ เป็นการทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง (เพลง) หรือโสตทัศนวัสดุ (มิวสิควีดีโอ) ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลเพลงสากลและเพลงไทยของสมาชิกบริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด “พีเอ็นอาร์” โดยค้นหาเพลงได้ที่ Song Searching (รอ connect กับทาง think smart แล้วค่อยเอา link มาใส่ตรงนี้นะคะ) ข้อมูลเพิ่มเติมอีเมล์ musicdelivery@teca.co.th หรือโทร 02 203-1002-3 ต่อ ทีมกฎหมาย

2. สถานประกอบการเพื่อการค้า/เชิงพาณิชย์ ได้แก่ ร้านอาหาร, ร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, โรงพยาบาล, ฟิตเนส, โบว์ลิ่ง, โรงภาพยนตร์, ผับ/บาร์, คาราโอเกะ และสายการบิน เป็นต้น

3. ในกรณีที่ท่านซื้อแผ่นซีดี (CD) หรือแผ่นดีวีดี (DVD) หรือไฟล์ดิจิตอลมาแล้ว ท่านมีกรรมสิทธิ์ในตัวแผ่นซีดี (CD) หรือ แผ่นดีวีดี (DVD) หรือไฟล์ดิจิตอล สามารถใช้เพื่อความบันเทิงส่วนตัวหรือภายในครอบครัวเท่านั้น การใช้/เปิดเพลงในสถานประกอบการเพื่อการค้า (เปิดเพลงในร้านค้า, ร้านอาหาร) ท่านต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน

4. การเปิดเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงจากบริการออนไลน์ อาทิเช่น Spotify, JOOX, Apple Music หรือสถานีวิทยุออนไลน์ (Radio Online) รวมถึงการเปิดเพลงจากให้บริการแบบวีดีโอตามคำขอ (Video on Demand) ได้แก่ YouTube, Tik Tok ในสถานประกอบการทางเชิงพาณิชย์ โดยปรกติบริการเหล่านั้นจะได้รับอนุญาตมาในส่วนที่เป็นการฟังเพลงเพื่อความบันเทิงส่วนตัวเท่านั้น แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ครอบคลุมถึงการใช้ลิขสิทธิ์ในส่วนของการทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์ทางการค้า ขอให้ตรวจสอบข้อมูลและเงื่อนไขการใช้งานของแต่ละบริการออนไลน์และโซเชียลมีเดียก่อนทุกครั้ง

นอกจากนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงเนื่องจากเพลงที่เปิดหรือดาวน์โหลดอาจจะไม่ได้อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่ท่านได้รับอนุญาตของ บริษัทฯ หรือตัวแทนที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของท่านรวมถึงลิขสิทธิ์ของสมาชิก บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด “พีเอ็นอาร์” ข้อสังเกต หากไม่ใช่ตัวแทนลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องมักจะแจ้งให้ใช้เพลงจากที่ไหนก็ได้เพื่อทำให้ท่านเข้าใจผิดในการชำระค่าลิขสิทธิ์ก่อนและจะไม่การรับผิดชอบใดๆ เมื่อท่านถูกจับหรือถูกจัดเก็บลิขสิทธิ์การใช้เพลงซ้ำซ้อนในภายหลัง

5. เพื่อความสะดวกกับผู้ได้รับอนุญาตการใช้เพลงสมาชิก บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด “พีเอ็นอาร์” ท่านสามารถตรวจสอบเพลงทั้งสากลและไทยที่ต้องการใช้ได้ตลอดระยะเวลาการได้รับอนุญาต โดยท่านสามารถตรวจสอบเพลงได้จากเว็บไซต์ http://phonorights.com/musicbx-cms/song_search.php?language=TH&page=song-search หรืออีเมล์ musicdelivery@teca.co.th

6. หากมีตัวแทนเข้าไปจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงในสถานประกอบการ ท่านจะสามารถตรวจสอบข้อมูลองค์กร/บริษัทฯ หรือ ตัวแทนเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างไร ท่านสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้

  • 6.1) สอบถามชื่อและขอดูบัตรตัวแทน (ในกรณีลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน) และชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ องค์กร/บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ http://www.ipthailand.go.th/th/copyright-010/category/รายชื่อบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง-2.html
  • 6.2) ชื่อค่ายเพลงและรายชื่อเพลงที่ตัวแทนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมถึงข้อมูลติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อยืนยันข้อมูล ในกรณีที่ท่านขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว ให้ติดต่อบริษัทฯ หรือตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของท่านให้ช่วยประสานการเรียกเก็บลิขสิทธิ์ที่ซ้ำซ้อน

7. ท่านไม่ควรหลงเชื่อ หรือจ่ายเงินให้กับบุคคลหรือคณะบุคคลที่อ้างว่าสามารถให้ความคุ้มครองท่านได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือขายสติ๊กเกอร์ในการให้ความคุ้มครอง เนื่องจากการกระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และไม่สามารถทำให้ท่านหลุดพ้นจากความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้

8. ขอให้ท่านคำนึงว่าการใช้งานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าจะต้องกระทำการให้ถูกต้องตามกฎหมายมิฉะนั้นท่านอาจถูกจับกุมดำเนินคดี และอาจต้องรับโทษตามกฎหมาย

ท่านสามารถตรวจสอบรายละเอียดสมาชิกบริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด “พีเอ็นอาร์” และข้อมูลการขออนุญาตการทำซ้ำเพื่อเผยแพร่สิ่งบันทึกเสียงและบริการจัดส่งเพลง พีเอ็นอาร์มิวสิคเดลิเวอรี่ (PNR MDS: Music Delivery Service) ราคาและรายชื่อเพลงเพิ่มเติมได้ที่บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด โทรศัพท์: (02) 2031002-3 #201-206, แผนกบริการพีเอ็นอาร์จัดส่งเพลง (PNR MDS: Music Delivery Service), อีเมล์: musicdelivery@phonorights.com เว็บไซต์ http://phonorights.com