กิจกรรมและข่าวประชาสัมพันธ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) จับมือ FLIPS สร้างมูลค่าเพิ่ม แปลงทรัพย์สินทางปัญญาสู่สินทรัพย์ดิจิทัล วางรากฐานผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทย

ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) คือหนึ่งในนโยบายที่ปัจจุบันทุกภาคส่วนในประเทศไทยให้
ความส าคัญ และเป็นหนึ่งเครื่องมือส าคัญในการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลไทย (Digital Economy) สู่ระดับ
โลกโดยอุตสาหกรรมดนตรี ภาพยนตร์ อาหาร แฟชั่น รวมถึงศิลปินวัฒนธรรมต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์
ของไทย ล้วนเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่า ซึ่งหากเรายกระดับในการบริหารจัดการสินทรัพย์เหล่านี้ให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในมิติต่างๆ เช่น การประเมินมูลค่า การบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงการบริหารสิทธิความ
เป็นเจ้าของสินทรัพย์เหล่านี้ จะเป็นรากฐานส าคัญที่ส่งเสริมท าให้อุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเติบโต
และมีศักยภาพในการแข่งขัน รวมถึงขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมของไทยสู่ประชาคมโลก
ปัจจุบันการน านวัตกรรมเข้ามามีส่วนช่วยในการยกระดับและสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการ
พัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การเข้าถึงผู้จัดจ าหน่ายใน
ต่างประเทศเพื่อจะเข้ามาส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ (Soft
Power) ของประเทศไทย จึงเป็นเรื่องท้าทาย และมีความส าคัญที่จะต้องรีบท าให้เกิดขึ้นตามกระแสของ
โลกยุคปัจจุบันที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13:30 - 16:00 น. กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวง
พาณิชย์ เปิดพื้นที่ให้ บริษัท ฟลิปส์ อินโนเวทีฟ จ ากัด จัดการประชุมเพื่อน าเสนอแพลตฟอร์ม Flips.IP
ซึ่งจะเข้ามาช่วยบริหารจัดการการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ส าหรับการใช้งานเพลงในการประกอบธุรกิจ ต่อค่าย
เพลง และบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ฯ โดยเป็นการน าเสนอแนวคิด หลักการ และฟีเจอร์ของแพลตฟอร์ม
Flips.IP และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้อภิปราย แสดงความเห็น และแนะน าบริษัทฯ ให้พัฒนา
แพลตฟอร์มได้สอดคล้องกับธุรกิจของอุตสาหกรรมเพลง ตลอดจนหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทาง
ธุรกิจร่วมกัน

นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “ศิลปินไทยมี
ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน แต่ยังขาดโครงสร้างทางธุรกิจที่ช่วยให้กลุ่มศิลปินอิสระเผยแพร่
ผลงานออกสู่ตลาดเพื่อสร้างรายได้ และขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อน าเสนอผลงานอย่าง
ต่อเนื่องให้เกิดความมั่นคงทางรายได้ ซึ่งกรมฯ เห็นว่า แพลตฟอร์ม Flips.IP มี Potential ที่จะแก้ Pain
Point ดังกล่าวได้”
ในโลกปัจจุบันที่ประชาชนทุกคนใช้ Social Media เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจ าวัน รวมถึงเทคโนโลยี
ต่างๆ ในปัจจุบัน ทุกคนสามารถเข้าถึงและสร้างทรัพย์สินทางปัญญาได้ง่ายขึ้น หรือ พูดได้ว่าประชาชน
ทุกคนที่มีไอเดียสามารถที่จะเป็นผู้สร้างสรรค์ หรือ IP Creator ได้ ซึ่งแพลตฟอร์ม Flips.IP จะเป็นอีก
ช่องทางที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้สร้างสรรค์ สามารถสร้างคอนเทนต์หรือชิ้นงานใหม่ๆ ได้โดยการเปลี่ยน
ผลงานเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่สร้างความมีส่วนร่วม และกระจายสิทธิความเป็นเจ้าของไปในกลุ่มแฟนและ
ผู้สนใจ และสะท้อนกลับมาเป็นรายได้ท าให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและ
กลุ่มผู้สนับสนุนได้ง่ายขึ้น
นายจิรสิน ขนิษฐานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟลิปส์ อินโนเวทีฟ จ ากัด กล่าวว่า
“การเปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญาให้กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ส าคัญในการผลักดัน
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของประเทศไทย” ด้วยการผสานเทคโนโลยีบล็อคเชน WEB
3.0 และนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ากับรูปแบบธุรกิจและกฎหมายในแต่ละประเทศ Flips.IP จะมีความพร้อม
ที่จะท าให้การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัย
“เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในทุกแขนง อาทิ เช่น ศิลปิน นักแต่งเพลง และนักสร้างสรรค์
ผลงานสามารถน าผลงานเข้าสู่แพลตฟอร์มและเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ท าให้สามารถเริ่มหารายได้จากผลงานได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาและจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ
การหารายได้จากผลงานที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะส าหรับศิลปินที่มีเพลงฮิต นอกจากนี้ Flips.IP ยังสามารถ
เชื่อมต่อกับฐานแฟนคลับผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และได้รับการสนับสนุนจากแฟน ๆ
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยเสริมสร้างรายได้และเพิ่มโอกาสในการผลิตผลงานใหม่ได้อย่างยั่งยืน” นายจิรสินฯ
กล่าว
Flips.IP ได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึง
บริการทางการเงินของผู้สร้างสรรค์ในประเทศไทย การเปิดตัว Flips.IP ในอนาคตอันใกล้ จึงถือเป็นก้าว
ส าคัญในการพัฒนาตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft
Power) มีบทบาทส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผลักดันอุตสาหกรรมให้มีการเติบโต

ทั้งนี้ เมื่อแพลตฟอร์มได้เริ่มพัฒนาและเรียนรู้จากอุตสาหกรรมเพลงซึ่งมีโครงสร้างธุรกิจที่ชัดเจน
และเป็นรูปธรรมแล้ว จะสามารถน าแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อขยายไปยังสาขาอื่นๆ ได้ เช่น การออกแบบ ศิลปะ
วรรณกรรม และภาพยนตร์ ด้วยรูปแบบและโครงสร้างที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับระบบนิเวศทางธุรกิจ
(Business Ecosystem) ในแต่ละสาขาต่อไป
หากคุณเป็นศิลปินหรือผู้สนใจ สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์ม Flips.IP เพื่อเริ่มต้นเส้นทางใหม่ใน
การสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาของคุณได้แล้ววันนี้ ตามช่องทาง https://ip.flips.id

#################
About Us
บริษัท ฟลิปส์ อินโนเวทีฟ จ ากัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Flips.IP
และผู้พัฒนาแพลตฟอร์มส าหรับการสร้าง Digital Asset ที่มีมูลค่าอ้างอิง
#################

มาไขข้อข้องใจเรื่องลิขสิทธิ์เพลงและบทบาทของค่ายเพลงไปพร้อมกันในอีบุ๊ก “Music Copyright 103: คู่มือการใช้ลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง ตอน สิทธิที่ค่ายเพลงต้องรู้” ดาวน์โหลดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ยุคนี้ใคร ๆ ก็เป็นศิลปินได้ แต่รู้ไหมว่ากว่าเพลงของคุณจะไปถึงหูผู้ฟัง และทำเงินจากเพลงได้นั้น ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ศิลปินส่วนใหญ่ยังคงต้องการ “ที่พึ่งพา” หรือ “ค่ายเพลง” ซึ่งมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายที่คอยสนับสนุนให้เพลงและศิลปินไปถึงเป้าหมาย รวมถึงคอยเป็นหลังบ้านให้กับศิลปินในการดูแลค่าลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง ซึ่งเป็นก้อนรายได้ที่สำคัญมากในโลกสตรีมมิ่งยุคปัจจุบัน

อีบุ๊ก “Music Copyright 103: คู่มือการใช้ลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง ตอน สิทธิที่ค่ายเพลงต้องรู้” เล่มนี้ ที่จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมมือกับ สมาคมการผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทย (TECA/IFPI Thailand) จะพาค่ายเพลงและคนดนตรีไปเปิดโลกลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงแบบลงลึกแทร็กต่อแทร็ก

อีบุ๊กเล่มนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาและสำนวนภาษาที่ย่อยง่าย ภาพประกอบและอินโฟกราฟิก ที่จะช่วยให้ค่ายเพลงได้ทำความเข้าใจและไม่หลงลืม "รายได้จากค่าลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง" อันเป็นรายได้ที่สร้างเม็ดเงินให้กับธุรกิจและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสายอาชีพ รวมไปถึงให้ความรู้แก่ผู้ขอใช้เพลงที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาช่วยกันสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดนตรีให้เติบโตไปพร้อมกัน เริ่มจากติดกระดุมเม็ดแรกที่เรื่องลิขสิทธิ์ให้ถูกต้อง

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดอีบุ๊กได้ที่ https://www.cea.or.th/th/single-research/music-copyright-103 ดาวน์โหลดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถย้อนอ่าน Music Copyright 101: คู่มือการใช้ลิขสิทธิ์ดนตรีเบื้องต้น ได้ที่ https://www.cea.or.th/en/single-research/Music-Copyright-101 และ Music Copyright 102: คู่มือการใช้ลิขสิทธิ์ดนตรีที่ชาวออนไลน์ต้องรู้ ได้ที่ https://www.cea.or.th/th/single-research/MusicCopyright102


งานแถลงข่าวโครงการ เปิดเพลงยกคลัง ฟินฟรีไม่ยั้ง 3 เทศกาล

สสว. DIP และ PNR  ลงนาม MOU เรื่องช่วยเอสเอ็มอีลดค่าใช้จ่ายเรื่องลิขสิทธิ์ มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้เอสเอ็มอีที่เป็นสมาชิก สสว. เปิดเพลงยกคลัง ฟินฟรีไม่ยั้ง 3 เทศกาล “ปีใหม่ ตรุษจีน และ วาเลนไทน์ ” เพื่อช่วยเรื่องส่งเสริมการขาย

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง สสว. กรมทรัพย์สินทางปัญญา (ทป. หรือ DIP) และ บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (PNR) เพื่อมอบสิทธิพิเศษในลิขสิทธิ์เพลงแก่ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก สสว.

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า สสว. ตระหนักถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการประกอบธุรกิจ และเชื่อมโยงข้อมูลสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการ จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จึงได้จัดทำงานพัฒนาสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ MSME ภายใต้แนวคิด SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME ที่รวบรวมสิทธิประโยชน์ในการทำธุรกิจด้านต่างๆ  “การลงนาม MOU ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการ ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้งานเพลงที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องในสถานประกอบการ และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์ รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำในการเข้าถึงงานเพลงที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง และเป็นรูปธรรม การเชื่อมโยงพัฒนาสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้กับผู้ประกอบการ โดย สสว. จะประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ และกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นประโยชน์แก่เอสเอ็มอี และวิสาหกิจรายย่อย ที่เป็นผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนเอสเอ็มอีผู้รับบริการภาครัฐ ผ่านสื่อต่างๆ ของ สสว. รวมถึงคัดเลือกและเชิญเอสเอ็มอี และวิสาหกิจรายย่อย ที่เป็นผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนผู้รับบริการภาครัฐ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ” ผอ.สสว. ระบุ

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้น และต้องปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้คล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค วิธีการหนึ่งที่ได้ผลก็คือการเปิดเพลงในสถานประกอบการ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี สร้างความแตกต่าง และเพิ่มความน่าสนใจให้กับกิจการของตน อย่างไรก็ดี จากการที่เพลงต่างๆ เป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ ที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าใช้สิทธิให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้มีอำนาจจัดเก็บตามกฎหมาย ซึ่งเป็นต้นทุนทางธุรกิจประการหนึ่ง กรมทรัพย์สินทางปัญญา สสว. และโฟโนไรทส์ (PNR) จึงร่วมกันจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ ผู้ประกอบการ ที่เป็นสมาชิกของ สสว. ให้ได้ใช้งานเพลงที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องในราคาพิเศษ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งยังจะเป็นการสร้างธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงได้อีกทางหนึ่ง

นายคเณศวร์ เพิ่มทรัพย์ ประธานกรรมการ บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า PNR Music Delivery Service เป็นบริษัทบริหารลิขสิทธิ์เพลงเผยแพร่ต่อสาธารณชนและการจัดส่งเพลงในสถานประกอบการให้ค่ายเพลงสากล และ ค่ายเพลงไทยคุณภาพ กว่า 60 ค่าย มีเพลงในระบบกว่า 30 ล้านเพลง ขอมอบของขวัญให้กับผู้ประกอบการ ได้เข้าถึงการใช้เพลงในสถานประกอบการอย่างถูกลิขสิทธิ เพื่อต้อนรับ 3 เทศกาลใหญ่ที่กำลังจะมาถึงนี้ โดยของขวัญกล่อง ที่ 1 คือ ทดลองใช้บริการเปิดเพลงในสถานประกอบการ จาก PNR ฟรี จนถึงวันที 15 มีนาคม 2567 และ ของขวัญกล่องที่ 2 หากสถานประกอบการต้องการเปิดเพลงต่อไป สามารถสมัครแพ็กเกจรายปี ในราคาสุดพิเศษ เริ่มต้นเพียงวันละ 14 บาทเท่านั้น หรือลดสูงสุด 55%  โดยได้รับความร่วมมือจากทาง บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด (MPC) ตัวแทนจัดเก็บค่าบริการจ่ายจบครบที่เดียว หมดกังวล ถูกลิขสิทธิ์ 100% และ บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี ประเทศไทย จำกัด (MCT) ดำเนินงานด้านบริหารจัดการสิทธิในงานดนตรีกรรมของนักประพันธ์

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://phonorights.com/detail_news.php?language=TH&page=detail-news&id=1702869498