รายระเอียดข่าวประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประธานในพิธีทำลายของกลางคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่คดีถึงที่สุดแล้วกว่า 1.2 ล้านชิ้น มูลค่าความเสียหายมากกว่า 600 ล้านบาทเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศคู่ค้าและนักลงทุน พร้อมประสานความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรด้านการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มแข็ง โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชนเจ้าของสิทธิผู้แทนประเทศคู่ค้าสำคัญ และสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยาน ณ หน่วยบัญชาการ ป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ
กับการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวง
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมศุลกากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตลอดจนภาคเอกชนเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศคู่ค้ายอมรับผลการปฏิบัติงานของไทย ดังปรากฏในรายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี
2566 ที่ได้ชื่นชมต่อพัฒนาการด้านนโยบายและผลการด าเนินการปราบปรามที่เป็นรูปธรรมของไทย อย่างไรก็ดีไทยยังคงสถานะอยู่ในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) รัฐบาลจึงพร้อมด าเนินการปราบปรามสินค้าละเมิดฯ อย่างเข้มข้นต่อไป โดยมุ่งหมายให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากบัญชีดังกล่าว
นายวุฒิไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำลายของกลางคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่คดีถึงที่สุดแล้วถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่จะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสสอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก(WTO) และมีการด าเนินการตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า นักลงทุน และเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ว่าสินค้าละเมิดฯ จะไม่กลับเข้าสู่ท้องตลาดอีก
ต่อไป อีกทั้งยังเป็นการปกป้องผู้บริโภคจากอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้สินค้าปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน
ในปีนี้ของกลางที่นำมาทำลายมีหลายประเภท เช่น เสื้อผ้า นาฬิกา รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง โทรศัพท์มือถือ อะไหล่รถยนต์ สินค้าอาหาร เป็นต้น โดยเป็นของกลางจากการจับกุมและตรวจยึดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร และกรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,253,529 ชิ้น คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า 600 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนเจ้าของสิทธิแล้ว ผู้บริโภคถือเป็น
อีกแนวร่วมสำคัญที่มีส่วนช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหากประชาชนท่านใด พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สามารถแจ้งเบาะแสมายังกองป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 02-547-4702 หรือสายด่วน 1368