การใช้เพลงสำหรับประกอบธุรกิจ / ลิขสิทธิ์เกี่ยวกับเพลง

การใช้เพลงสำหรับประกอบธุรกิจ

การเปิดเพลงหรือใช้เพลงเพื่อประกอบธุรกิจในสถานประกอบการเพื่อประโยชน์ทางการค้า/เชิงพาณิชย์สำหรับประกอบธุรกิจ จำเป็นต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์งานสิ่งบันทึกเสียง (เพลง) หรือโสตทัศนวัสดุ (มิวสิควีดีโอ) เสียก่อน ก่อนที่จะไปสู่เรื่องการขออนุญาต เรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับลิขสิทธิ์เพลงว่ามีไรบ้าง

ลิขสิทธิ์เกี่ยวกับเพลง

“ลิขสิทธิ์” หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียว ที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น เช่น สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย สามารถทำความเข้าใจได้จากวิดิโอนี้

  1. ลิขสิทธิ์เพลงคืออะไร : What Is Music Copyright?
    เมื่อคุณได้ยินเสียงเพลงๆ หนึ่ง คุณรู้หรือไม่ว่าเพลงนั้นจะประกอบด้วยลิขสิทธิ์ 2 งาน คือ
    1. งานดนตรีกรรม (Musical Work) คือ เนื้อร้อง, ทำนองและคำร้องหรือทำนองอย่างเดียวหรือการเรียบเรียงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะแยกหรือรวมกัน โดยเจ้าของลิขสิทธิ์คือนักแต่งเพลงหรือผู้ประพันธ์
    2. งานสิ่งบันทึกเสียง (Sound Recording) คือ งานเพลงประกอบด้วยเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใดๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยเจ้าของลิขสิทธิ์คือ ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง อันได้แก่ค่ายเพลงหรือบริษัทสิ่งบันทึกเสียง

    สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ (Exclusive right) หลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เพลงคือ
    1. สิทธิ์ทำซ้ำ (Reproduction Right) การคัดลอก เลียนแบบ ทำสำเนา บันทึกเสียง จากต้นฉบับเพลงหรือสำเนาเพลง ไม่ว่าทั้งเพลงหรือแค่บางส่วน ในส่วนสำคัญของเพลงนั้นๆ เช่น ทำสำเนาไฟล์เพลงขึ้นมาอีกไฟล์หนึ่ง สามารถติดต่อ บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด คุณเพขรรัช (เพชร) เบอร์โทร 02-203-1002-3 ต่อ 204 อีเมล์ petcharat@teca.co.th
    2. สิทธิ์เผยแพร่สู่สาธารณชน (Communication to Public/Public Performance Right) หมายถึง การทำให้ปรากฎต่อผู้คนที่สามารถเข้าถึงหรือได้ยินเสียงเพลง โดยวิธีการใดๆ ที่ได้จัดทำขึ้น เช่น ทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือสถานประกอบการต่างๆ อาทิ เช่น ร้านอาหาร, ร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า, สายการบิน, โรงแรม, โรงพยาบาล, ฟิตเนส, โบว์ลิ่ง, โรงภาพยนตร์, ผับ/บาร์, คาราโอเกะ เป็นต้น สามารถติดต่อบริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด คุณปัทมา (นุ้ย) เบอร์โทร 02-069-231 ต่อ 106 อีเมล์ pattama@mpcmusic.co.th

ในกรณีที่ต้องการนำเพลงเพื่อประกอบเนื้อหาอื่น เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์, วิทยุ, ภาพยนตร์, ซีรีย์ จะมีอีกหนึ่งสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ สิทธิ์การดัดแปลง (Synchronization Right) หมายถึง การนำงานสิ่งบันทึกเสียงไปดัดแปลง และ/หรือ ประกอบกับภาพ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหารายการ ภาพยนตร์ หรือละคร โดยทางผู้ผลิตรายการ โฆษณา หรือช่องรายการที่เผยแพร่จะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องก่อนการขออนุญาตสิทธิ์ทำซ้ำและสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนข้างต้นต่อไป โดยสิทธิ์การดัดแปลง (Synchronization Right) ต้องขออนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์แต่ละรายโดยตรง ซึ่งผู้ถือลิขสิทธิ์อาจมีมากกว่าหนึ่งราย ไม่ว่าจะเป็นเพลงไทยหรือเพลงต่างประเทศ ต้องตรวจสอบรายละเอียดรวมทั้งการติดต่อประสานกับผู้ถือลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ หากท่านสนใจให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวแทนในการติดต่อและประสานขออนุญาตกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้เพลงต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการใช้งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ในการดำเนินการตรวจสอบลิขสิทธิ์กับองค์กรนักประพันธ์ต่างประเทศๆอันได้แก่ Fujipacific Music (S.E. Asia) Ltd., PEERMUSIC (S.E. Asia) Limited, Warner Chappell Music, One Asia Music, Universal Music Publishing, SonyATV, EMI Music Publishing เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมหรือต้องการผู้ประสานขออนุญาตใช้สิทธิ์ดัดแปลง (Synchronization Right) สามารถติดต่อคุณจารุวรรณ (เกี๊ยว) เบอร์โทร 086-388-9459 อีเมล์ jaruwana@hotmail.com

การจะขออนุญาตใช้งานเพลงให้ครบถ้วนจะต้องขออนุญาตให้ครบทุกเจ้าของลิขสิทธิ์และทุกสิทธิ์ที่ต้องการ เจ้าของลิขสิทธิ์: ผู้ประพันธ์งานดนตรีกรรม และ ค่ายเพลงผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง สิทธิ์: 1. ทำซ้ำ (Reproduction) 2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน (Communication to the Public)